Folder
หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล (KKU Digital intelligence : KKU DQ)
KKU DQ : KKU Digital intelligence
หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล หลักสูตรที่สามารถเพิ่มพูนความรู้ด้านดิจิทัล การรู้เท่าทันข้อมูลสารสนเทศ และทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตทุกด้าน (Digital Disruption) แม้กระทั่งการศึกษา มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาหน่วยงาน หรือกลไกในการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน และการสร้างผลงานผ่านระบบดิจิทัลขับเคลื่อนขนานไปกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยอาศัยสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ อุทยานวิทยาศาสตร์ และศูนย์พัฒนานวัตกรรม ยกระดับเป็น ICT Research Center ซึ่งอาศัยสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้หลากหลายสาขาวิชาที่สามารถบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้แบบสหสาขา การใช้คอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ได้มีการถูกนำมาใช้ในในทุกส่วนของชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต เมื่อองค์ความรู้และแนวปฏิบัติได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ในการส่งเสริมการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ที่มีการปฏิวัติวิธีการทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนรู้ และการปรับเปลี่ยนเป็นพลเมืองให้กระตือรือร้นในสังคมปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ การสมัครงานออนไลน์ การใช้จ่ายออนไลน์ การทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นต้น ถ้าหากว่าขาดทักษะดิจิทัลอาจส่งผลต่อการเสียโอกาสในชีวิตได้ และเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจการใช้ดิจิทัลติดตัวเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมได้ นำความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถนี้ไปใช้ในการเรียน การทำงาน และการใช้ชัวิตในประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล 10 Module
หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล หลักสูตรที่สามารถเพิ่มพูนความรู้ด้านดิจิทัล การรู้เท่าทันข้อมูลสารสนเทศ และทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตทุกด้าน (Digital Disruption) แม้กระทั่งการศึกษา มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาหน่วยงาน หรือกลไกในการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน และการสร้างผลงานผ่านระบบดิจิทัลขับเคลื่อนขนานไปกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยอาศัยสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ อุทยานวิทยาศาสตร์ และศูนย์พัฒนานวัตกรรม ยกระดับเป็น ICT Research Center ซึ่งอาศัยสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้หลากหลายสาขาวิชาที่สามารถบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้แบบสหสาขา การใช้คอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ได้มีการถูกนำมาใช้ในในทุกส่วนของชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต เมื่อองค์ความรู้และแนวปฏิบัติได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ในการส่งเสริมการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ที่มีการปฏิวัติวิธีการทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนรู้ และการปรับเปลี่ยนเป็นพลเมืองให้กระตือรือร้นในสังคมปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ การสมัครงานออนไลน์ การใช้จ่ายออนไลน์ การทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นต้น ถ้าหากว่าขาดทักษะดิจิทัลอาจส่งผลต่อการเสียโอกาสในชีวิตได้ และเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจการใช้ดิจิทัลติดตัวเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมได้ นำความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถนี้ไปใช้ในการเรียน การทำงาน และการใช้ชัวิตในประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล 10 Module
ทักษะคอมพิวเตอร์ (Essential Computer Skills)
-
การใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computer Basics)
-
การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet)
-
การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ (Online Collaboration)
-
ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
ทักษะซอฟต์แวร์ที่จำเป็น (Essential Software Skills)
- การใช้โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing)
-
การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheets)
-
การใช้โปรแกรมการนำเสนองาน (Presentation)
-
การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
-
การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
-
ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprint)